พิธีชงชา



      พิธีชงชาญี่ปุ่น เป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นว่าด้วยการใช้เวลาอย่างสุนทรีย์ ประกอบด้วยการปรนนิบัติระหว่างการดื่มและการดื่มชาผงสีเขียวหรือมัทชา (matcha) การจัดการพบปะกันในวงสังคมเพื่อดื่มมัทชาได้แพร่หลายในบรรดาชนชั้นสูงนับตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 14 ต้นฉบับของพิธีชงชา รูปแบบของซะโดซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน เริ่มในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 16 ในระหว่างยุคโมโมยามะ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านชาคือ เซ็น โนะ ริคิว (Sen no Rikyu)



ประวัติของพิธีชงชา

      ชาเริ่มมีการนำเข้าสู่ญี่ปุ่นในสมัยนาระโดยคณะทูต ต่อมาได้เสื่อมความนิยมไประยะหนึ่งแต่กลับมาแหร่หลายอีกครั้งในสมัยคามาคุระ (Kamakura) และในสมัยมุโรมาจิ(Muromachi)จากการที่มุราตะ  จุโก(Murata jukou) ภายใต้การอุปถัมถ์ของโชกุนอาชิ คางะ โยชิมาสะ (Asshikaga Yoshimasa)ได้ริเริ่มรูปแบบวาบิชะ (Wabicha : พิธีชงชาแบบเรียบง่าย) ในห้องขนาดสี่เสื่อครึ่งเป็นการยกระดับการดื่มชาให้มีฐานทางศิลปะสูงขึ้น และรู้จักกันในชื่อว่า ซาโด (วิถีทางแห่งชา) และผู้ที่ทำให้พิธีชงชาให้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งยวด คือ เซน โนะ ริกิว (Sen no Rikyuu) ในสมัยอาซึชิ-โมโมยามะ (Azuchi-Momoyama) เซน โนะ ริกิวเคยเป็นข้ารับใช้โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ (Toyotomi Hideyoshi) แต่ภายหลังกลับเป็นปรปักษ์ ในปี ค.ศ.1591 เขาได้ทำอัตวินิบาตกรรมด้วย การคว้านท้องตามคำสั่งของฮิเดชิ  พิธีชงชาของเขาได้รับสืบทอดต่อไปยังลูกหลาย มี 3 คนได้ก่อตั้งสำนักเซนเกะขึ้น คือ โอโมเทะ เซนกะ (Omote Senke) อุระ เซนเกะ (Ura Senke) และ มุชาโกจิ เซนเกะ (Mushakouji Senke) จาก 3สำนักเซนเกะนี้ได้กำเนิดสำนักต่างๆ อีกมากมายสือต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ยาบุโนอุจิ (Yabonouchi) เองชู (Enshuu) โซเฮง (Souhen)  เป็นต้น ในสำนักต่างๆ เหล่านี้ อุระ เซนเกะซึ่งมีกลุ่มสันทนาการได้ออกไปสอนยังต่างปหระเทศหลังสงครามในทันที และมีบทบาทาทสำคัญยิ่งในการทำให้พิธีชงชาเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก


ชาที่ชงในพิธีนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ

濃茶 (Koicha) ต้องชงในภาชนะใหญ่ดื่มกันได้หลายคน จึงต้องชงให้มีรสชาติเข้มข้น
薄茶 (Usucha) เป็นการชงในถ้วยเล็กๆเพื่อดื่มคนเดียว ใช้กันทั่วๆไปและสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน เมื่อก่อนเสิร์ฟกับขนมแห้ง (Higashi) แต่ปัจจุบันเสิร์ฟกับขนมสด


มารยาทและข้อพึงปฏิบัติ

     รูปแบบการจัดพิธีชงชามีแบบที่จัดในกลางแจ้งโดยเตรียมที่นั่งช่วคราวไว้ ในสวน ในอณาบริเวณภายในวัด เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามพิธีชงชาจะต้องมีห้องพิธีชา และในห้องพิธีชาเล็กๆนี้เองที่ก่อกำเนิดวัฒนธรรมกรรมชงชาที่เรียกว่า เทมาเอะ (Temae) ลำดับการชงชา คือ เจ้าภาพจะใส่มัทชะ (Matcha : ชาสีเขียนป่น) ลงในถ้วยชา ตักน้ำจากหม้อต้มน้ำร้อน มาใส่ คนด้วยชาเซน (Chasen : ไม้คนชา) จนแตกฟอง วิธีดื่ม คือ ยกถ้วยชาขึ้นด้วยมือขวาวางลงบนฝ่ามือข้างซ้าย หมุนถ้วยชาเข้าหาตัว หลังจากดื่มเสร็จแล้วใช้ปปลายนิ้วเช็ดขอบถ้วยชาและใช้ไคชิ (Kaishi : กระดาษรองขนม) เช็ดนิ้ว แต่องค์ประกอบสำคัญของพิธีชงชาไม่ใช่เป็นเพียงการดื่มชา ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การชื่นชมคุณค่าและความงามของสิ่งต่างๆ เช่น ถ้วนชาหรือเครื่องใช้ในการประกอบพิธีชงชา การจัดแต่งห้องพิธีชงชา สถานที่กลางแจ้งที่ใช้ในการจัดพิธี สวน เป็นต้น และการสื่อประสานทางใจระหว่างเจ้าภาพกับแขก


  เซน โนะ ริกิวได้กำหนดกฎ 4 ข้อและแนวปฏิบัติ 7 ข้อที่พึงปฏิบัติในพิธีชงชาไว้ กฎ 4 ข้อได้แก่ ความสงบของจิตใจกับความเคารพเป็นกฎซึ่งเจ้าภาพและแขกต้องยึดถือ และความงามแบบเรียนง่ายกับบรรยากาศอันเงียบสงัดของห้องหรือสวนที่ประกอบพิธีชงชา แนวปฏิ
บัติ 7 ข้อเป็นสิ่งซึ่งเจ้าภาพควรปฏิบัติในเวลารับรองแขก ได้แก่ เสิร์ฟชาเมื่อแขกปราถนาจะดื่ม เตรียมถ่านให้พอเหมาะให้ต้มน้ำเดือด รับรองแขกให้อบอุ่นในฤดูหนาวและเย็นสบายในฤดูร้อน จัดแต่งดอกไม้ตามธรรมชาติให้เหมือนกับอยู่ในท้องทุ่ง เริ่มในเวลาเนิ่นๆ ตระเตรียมอุปกรณ์กันฝนแม้ในวันที่ฝนไม่ตก และเอาใจใส่ดูแลแขกให้ทั่วถึงทุกคน นี่คือเคล็ด 7 ประการในการรับรองแขก


ไม่มีความคิดเห็น:

พิธีชงชา

พิธีชงชาญี่ปุ่น เป็นเอกลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นว่าด้วยการใช้เวลาอย่างสุนทรีย์ ประกอบด้วยการปรนนิบัติระหว่างการดื่มและการดื่มชาผงสีเขีย...